วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การแต่งกายสมัยอยุธยา

การแต่งกายสมัยอยุธยา
(พ.ศ.๑๘๙๓ ถึง พ.ศ.๒๓๑๐)
กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรของคนไทยอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรสุโขทัย ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ การแต่งกายของชาวอยุธยา สันนิษฐานว่า คงได้รับอิทธิพลการแต่งกายมาจากอาณาจักรข้างเคียง เช่น ลพบุรี สุโขทัย และล้านนาปะปนกัน เนื่องจากมีเขตแดนติดต่อกัน และมีความผูกพันกันทางเครือญาติอีกด้านหนึ่งด้วย เครื่องแต่งกายในสมัยอยุธยา เครื่องแบบสำหรับข้าราชการ ขุนนาง ทหาร พระเจ้าอยู่หัวจะเป็นผู้พระราชทานเสื้อผ้า เครื่องยศให้เป็นรายปี เรียกว่า “ผ้าหวัดรายปี” ผ้าที่พระราชทานให้ใช้สำหรับเข้าเฝ้าในงานพิธีต่าง ๆ มีทั้งที่ทำด้วยผ้าแพรและผ้ามัสลิน ลดหลั่นกันตามตำแหน่งเครื่องแบบข้าราชการในสมัยนี้ สรุปได้เป็น ๓ ยุค คือ
ยุคที่ ๑ พ.ศ.๑๘๙๓ ถึง พ.ศ.๒๑๗๑ มี ๓ แบบ คือ
๑. เสื้อคอแหลม แขนสั้นค่อนข้างมาก ผ่าอกตลอด ปลายแขนตัดเฉียง ทำให้ปลายเชิดขึ้นเล็กน้อย
๒. เสื้อทรงประพาส แบบเสื้อครุย๓. เสื้อกระโจมอก ลักษณะเป็นเสื้อคอกลม แขนสั้น ตัวยาวถึงสะโพก จับให้เป็นรอยจีบแถวหน้าอก ขุนนางผู้ใหญ่สวมศรีเภท หรือเศียรเภท (สันนิษฐานว่าเป็นลอมพอก) ขุนนางชั้นรองลงมา สวมหมวกยอดแหลมและผ้าโพก การนุ่งผ้ามีทั้งนุ่งโจงกระเบนและนุ่งกางเกง ผ้ามี ๔ สี ผ้าดำ ผ้าเขียว ผ้าชมพู และผ้าแดง ผ้าแดงใช้ตัดเครื่องแบบทหาร ใช้ในยามสงคราม และตามเสด็จประพาสป่า เพื่อให้เป็นที่สังเกตได้แต่ไกล ป้องกันมิให้ทำอันตรายกันเอง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า ผู้ชายไทยเริ่มตัดมุ่นมวยผม คือไว้ผมเฉพาะที่กลางกระหม่อม ต้นผมนอกไร่ต่อลงมาโดยรอบโกนเกลี้ยงดังผมพระ บางคนเรียกผมหลักแจว หรือทรงมหาดไทย





ยุคที่ ๒ พ.ศ.๒๑๗๓ ถึง พ.ศ.๒๒๗๕ เสื้อเครื่องแบบขุนนางสมัยนี้มีหลายแบบด้วยเช่น
เสื้อเครื่อง เป็นเสื้อผ้าดอกแขนยาว มีทั้งคอปิดและคอตั้ง ผ่าอกตลอด ติดดุมท่อนบน๗ - ๘ ดุม ตัวยาวถึงสะโพก ขลิบปลายแขนและรอบเอวด้วยสีต่าง ๆ เป็นเสื้อเครื่องแบบสำหรับข้าราชการ ชั้นพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น คำว่า “เครื่อง” ในพงศาวดารโยนก หมายความว่า “ทหาร” ดังนั้น “เสื้อเครื่อง” อาจหมายถึง เสื้อทหารก็ได้ เสื้อกุตไต เป็นเสื้อผ้าตาหรือผ้าดอก แขนสั้น คอกลม มีสายใหญ่ที่คอขลิบปลายแขน และรอบเอวด้วยผ้าต่างสี ตัวสั้นกว่าเสื้อเครื่อง บางครั้งก็สวมแล้วนุ่งผ้าทับ บางครั้งก็สวมทับผ้านุ่ง เสื้อเสนากุฎ เป็นเสื้อที่พิมพ์สีสลับเป็นลาย มีสีแดงเหมือนน้ำหมากมากกว่าสีอื่น ที่อกเป็นลายสิงห์ขบ ตามตัวเป็นลายต่าง ๆ กัน มีเกล็ดเกราะลายดอกไม้ ลายกนก เดิมเป็นเสื้อแขนสั้น คงจะเริ่มมีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.๒๑๓๓ ถึง พ.ศ.๒๑๔๘) เป็นเสื้อที่ใช้กันมาเป็นเวลานานมากจนถึงรัชกาล ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แขนเสื้อยาวมาถึงข้อมือเสื้อทรงประพาส เป็นเสื้อมีปก คอกว้างจนยกเป็นอินทรธนู และต่อแขนยาวจากไหล่ใต้ปกออกไป ตัวเสื้อกับแขนเป็นผ้าคนละสี แขนตัดตามลายขวางของผ้า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรมช้างซึ่งเป็นกรมใหญ่ที่สุด ใช้แต่งกับลอมพอกและแต่งกันมาจนถึงรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสื้อครุย เป็นเสื้อที่ใช้กันมาเก่าแก่ตั้งแต่สร้างกรุง อาจเป็นเสื้อผ้าที่เรียกกันว่า “สนอบ” ที่กล่าวถึงในกฎมณเฑียรบาล เป็นเสื้อตัวไม่ยาวนัก แขนสั้น ผ่าอกตลอด ตกมาถึงสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ตัวเสื้อยาวขึ้น แขนกว้างขึ้นแต่เป็นแขนสามส่วน ทำด้วยผ้าขาวบางหรือผ้าโปร่ง ตกแต่งด้วยลายตามฐานะและตำแหน่ง การนุ่งผ้าได้มีแบบแผนสำหรับข้าราชการใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกำหนดไว้ใน “พระตำหรับนุ่งผ้าขี่ช้าง” มีอยู่ ๔ อย่าง คือ เกไลบัวตูม บัวบาน และบัวจีบ เครื่องประดับศีรษะของขุนนางข้าราชการในเวลามีงานพระราชพิธี และงานเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตรา ขุนนางกรมช้างใช้ลอมพอก ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีสมุหกลาโหม และสมุหนายกใช้หมวกปีกใหญ่ไม่หลบปีกแต่เชิดขึ้นเล็กน้อย ทหารใช้หมวกปีกสั้นมากพอปิดตีนผม ส่วนจอมหมวกนายทหารเอกสูงสุดครอบมวยผมอย่างสูงไว้ ภายในมียอดจอมเนินเป็นบัวตูม รองรับด้วยบัวคว่ำรอบจอมเบื้องล่าง มีเกี้ยวกระจัง (เครื่องสวมจุก) นายทหารรองลงมาคล้ายกันแต่ยอดจอมแหลม หมวกพลทหารยอดจอมมน



ยุคที่ ๓ พ.ศ.๒๒๗๕ ถึง พ.ศ.๒๓๑๐ เครื่องแบบข้าราชการในยุคนี้ มีตำรากำหนดไว้ว่าจะต้องแต่งเครื่องแบบเต็มยศ ในงานพระราชพิธี ดังนี้ มหาดเล็ก ได้แก่ หัวหมื่น ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นจมื่น เป็นหัวหน้ารับผิดชอบรองลงมา ได้แก่ นายเวร จ่า จ่าหุ้มแพร ผู้ลงเรือพระที่นั่งต้องแต่งเครื่องแบบเต็มยศ นุ่งผ้าสมปักลาย ห่มเสื้อครุยใส่ลอมพอก และคาดผ้าเกี้ยวตามบรรดาศักดิ์ สะพายดาบตามตำแหน่ง มหาดเล็กธรรมดา นุ่งผ้าลาย ห่มเสื้อครุย ใส่พอกเกี้ยว ถ้าเสด็จไปทอดพระเนตรการมหรสพ เจ้ากรม ปลัดกรม นุ่งสมปักลาย ห่มเสื้อครุย เจ้ากรมสะพายกระบี่ ปลัดกรมขัดดาบ หัวหมื่นสะพายดาบ ถือหอก ถ้างานไม่ใหญ่โตนัก ให้แต่งกายนุ่งผ้าสมปักใส่เสื้อครุย คาดดาบ ถ้าเป็นงานเสี่ยงอันตราย เช่น ทอดพระเนตรเสือในวัง จึงให้นุ่งผ้าไหมเกี้ยว ผ้าเกี้ยว ถ้าแห่ออกนอกวังให้นุ่งผ้าแกมไหม ห่มเสื้อหนาว นุ่งผ้าเกี้ยว ถ้าเสด็จออกงานทำนองสวนสนามในวัง หรืองานที่ไม่สำคัญนอกวัง เป็นงานปกติให้นุ่งสมปัก ห่มเสื้อครุย คาดดาบ งานเต็มยศให้นุ่งสมปักลาย ห่มเสื้อครุยใส่พอกเกี้ยวตามบรรดาศักดิ์ เจ้ากรมสะพายกระบี่ ปลัดกรมคาดดาบ หัวหมื่นถือดาบ สะพายดาบการนุ่งผ้า ผ้านุ่งที่สำคัญที่สุด คือ “ผ้าสมปัก” เพราะเป็นผ้าทางราชการ ยศก็ดีสังกัดก็ดีสังเกตได้จากผ้าสี โดยปกติไม่นุ่งกัน นอกจากเข้าเฝ้าหรือตามเสด็จพระราชดำเนิน แม้แต่นุ่งจาก บ้านจะเข้าวังก็ใช้ผ้าอื่นนุ่งมาก่อน สมปักให้ทนายถือตามมานุ่งในวัง ผ้าสมปัก เป็นผ้าไหมหน้าแคบต้องต่อให้กว้าง โดยใช้ผ้าสองผืนต่อกัน เรียกว่า “เพลาะ” เมื่อเพลาะแล้วจะกว้างประมาณ ๑๖๐ เซนติเมตร ซึ่งกว้างกว่าผ้านุ่งธรรมดา
๑/๔ ยาว ๑/๒ เวลานุ่งเต็มยศ ใช้ผ้าสมปักลายต่าง ๆ เวลานุ่งเข้าเฝ้าตามปกติ นุ่งผ้าไหมสี
ต่าง ๆ ผ้าสมปักที่มีเกียรติยศสูงสุด คือ สมปักปูม เป็นสมปักที่ทอด้วยไหมมีลายดอกเป็น
ตา ๆ สมปักที่ต่ำสุด คือสมปักริ้ว ในยามปกติไม่มีการงานสำคัญ ขุนนาง ข้าราชการ ก็คงนุ่งผ้าผืนห่มผืนเหมือนชาวบ้านทั่วไป แม้ในยามเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวตามปกติประจำวันที่ไม่มีงานพระราชพิธี หรือรับแขกเมืองขุนนาง ข้าราชการก็คงแต่งกายตามอัธยาศัย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อบ้างไม่สวมเสื้อบ้างเนื่องจากอากาศร้อน





การแต่งกายสมัยอยุธยา (พ.ศ.๑๘๙๓ ถึง พ.ศ.๒๓๑๐) ได้หลักฐานจากภาพจิตร-กรรมฝาผนังและไม้แกะสลัก เป็นต้น จัดแสดงไว้ ๒ หุ่น




หุ่นทหารชาย ไว้ผมทรงหลักแจว หรือทรงมหาดไทย เสื้อคอกลม มีแถบที่แขน(บอกยศตำแหน่ง) นุ่งกางเกงสามส่วนมีแถบ มีผ้าคาดเอว มีดาบเป็นอาวุธ ไม่สวมรองเท้า




หุ่นทหารหญิง หรือนักรบให้ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม ด้านหลังปล่อยยาวคาดผ้าตะเบงมาน นุ่งผ้าโจงกระเบน อาวุธดาบสองมือ ไม่สวมรองเท้า

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ข้อมูลสาระสนเทศ








ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

รูปแสดงการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม
นักเรียนลองจินตนาการดูว่า นักเรียนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อตื่นนอนนักเรียนอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือเพลงไปทั่ว นักเรียนใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน ดูรายการทีวี วีดีโอเมื่อมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าไปศูนย์การค้า ขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนซึ่งควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ที่บ้านนักเรียน นักเรียนอาจอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ คุณแม่ทำอาหารด้วยเตาอบซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทำงาน

รูปแสดงเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน

ในอดีตยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง และสังคมเมืองทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง ทำให้ข่าวสารแพร่กระจ่ายไปอย่างรวดเร็ว สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดนเพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ออกไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว





นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ
ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ





รูปแสดงสื่อที่ช่วยในการรับส่งข้อมูล
ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) การจองตั๋วดูภาพยนตร์ การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียน
เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก ดังนี้




§ การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกันการใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวมwbr>wb

§ การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมุลที่จัดเก็บนั้น

รูปแสดง การประมวลผลให้ออกมาในรูปเอกสาร

§ การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น










รูปแสดง การแสดงผลลัพท์ทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
§ การทำสำเนา เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การทำสำเนาจะทำได้ง่าย และทำได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เรามีเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จานบันทึก ซีดีรอม ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
§ การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมาก ๆ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท ตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ เส้นใยนำแสง เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุไมโครเวฟ ดาวเทียม เป็นต้น







ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
§ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
§ เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
§ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
§ เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น





ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้
§ การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
§ เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
§ สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
§ เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
§ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
§ การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี





























การวิเคราะห์หลักการค้า
การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันและ
การค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจอร์แดน
ดร. รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์
(Dr. Rungruang Limchoopatipa)
ศักยภาพการแข่งขันของประเทศจอร์แดนเทียบกับประเทศไทย
ประเทศจอร์แดนเป็นประเทศขนาดเล็กในตะวันออกกลางมีประชากรอยู่เพียง 5 ล้านกว่าคน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงอัมมัน ผลิตผลมวลรวมของประเทศ (GDP) อยู่ที่ $10 ล้านดอลล่าร์ (400 ล้านบาท) ประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้ายากจน มี GDP per Capita อยู่ที่ 4 หมื่นกว่าบาทอยู่ในลำดับที่ 54 จาก 60 ประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยแล้ว ประเทศจอร์แดนมีศักยภาพการแข่งขันของประเทศอยู่ในลำดับที่ 48 ขณะเดียวกับที่ประเทศไทยเรามีศักยภาพการแข่งขันอยู่ในลำดับที่ 29 เรียกได้ว่าประเทศไทยนี้เหนือกว่าประเทศจอร์แดนในทุกด้านทั้งในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีศักยภาพในการแข่งขันประสิทธิภาพในการบริหารงานราชการ ประสิทธิภาพในภาคธุรกิจ และประเทศทั้งสองก็มีปัญหาในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและปัญหาเรื่องความยากจนของประเทศเช่นเดียวกัน (รูปที่ 1)
ประเทศไทย ประเทศจอร์แดน
1 การจัดลำดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
เมื่อเปรียบเทียบในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ประเทศไทยมีตามลำดับศักยภาพในการแข่งขันเหนือกว่าประเทศ จอร์แดนมาก โดยประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 29 และมีการพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นลำดับทุกปี ขณะเดียวกับประเทศจอร์แดนถดถอยมาอยู่ในลำดับที่ 56 ทั้งในเรื่อง ประเทศไทยมีความโดดเด่นในเรื่องการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเหนือกว่าประเทศจอร์แดนมากในทุกเรื่องนับตั้งแต่เรื่องเศรษฐกิจภายในประเทศ (อันเป็นที่เกี่ยวกับ รายได้ของประเทศ ค่าใช้จ่ายในภาคเอกชนและรัฐบาล การลงทุนและเงินออมของประเทศทั้งในแง่ของขนาดและอัตราการเจริญเติบโต รวมทั้งตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่นำมาเทียบต่อประชากรซึ่งแสดงถึงการกินดีอยู่ดีของประชาชนภายในประเทศ) การค้าระหว่างประเทศ (อันประกอบด้วยตัวเลขมูลค่าและอัตราการเจริญเติบโตของการส่งออก การนำเข้าสินค้า รายได้จากการการท่องเที่ยวและการบริการต่างๆ รวมทั้งตัวเลขดุลบัญชีเงินสะพัดระหว่างประเทศ) เรื่องการจ้างงาน อัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพ ดังนั้นการพัฒนาสร้างพันธะมิตรทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศนี้ จะสร้างความได้เปรียบของประเทศไทยที่มีศักยะภาพสูงกว่าสามารถสร้างให้เกิดเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยได้สูง
(รูปที่ 2)







ประเทศไทย ประเทศจอร์แดน
รูปที่ 2 เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ





ส่วนในเรื่องของประสิทธิภาพในส่วนราชการนั้น ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 20 ขณะเดียวกับที่ประเทศจอร์แดนอยู่ในลำดับที่ 30 ของโลก ประเทศไทยมีประสิทธิภาพในการบริหารราชการที่ดีกว่าระเทศจอร์แดนมาก ทั้งในเรื่องการเงินสาธารณะ (การบริหารการเงินของรัฐบาลตามกรอบงบประมาณ มูลค่าของหนี้สาธารณะและหนี้ต่างประเทศ จำนวนเงินทุนสำรองของประเทศ) การบริหารจัดเก็บภาษีรายได้ของรัฐบาล (ทั้งในส่วนของภาษีรายได้ส่วนบุคลและภาษีของผลกำไรจากการประกอบการในภาคเอกชน ภาษีการค้า และภาษีโรงเรือน เป็นต้น) โครงสร้างสถาบันการเงินและประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐบาล (เช่นการควบคุมและการบริหารงานของธนาคารแห่งชาติ ธนาคารเอกชนทั่วๆ ไป การควบคุมดอกเบี้ยเงินออมและดอกเบี้ยเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ค่าเงินตราและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ เรื่องความสามารถในการตัดสินใจของรัฐบาล ทิศทางของนโยบายของรัฐบาล ความโปร่งใส การปราบปรามคอรัปชั่นและการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลโดยมิชอบ และการทำงานในระบบราชการ) สำหรับเรื่องกฎหมายข้อบังคับทางธุรกิจ และโครงสร้างทางสังคมนั้นประเทศไทยก็ดีกว่าจอร์แดนเล็กน้อย












สำหรับในเรื่องของประสิทธิภาพในการประกอบการธุรกิจนั้น ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 23 ก็ดีกว่าประเทศจอร์แดนมากเช่นกันซึ่งอยู่ในลำดับที่ 53 จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเหนือกว่าประเทศจอร์แดนในทุกด้าน ประเทศไทยมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจสูงกว่าอยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องทัศนะคติในการทำงานและธุรกิจ (ความเปิดกว้างกับนานาชาติและระบบเศรษฐกิจโลก) ความสามารถในการบริหารงานสมัยใหม่ (เรื่องของความเข้าใจในการประกอบการธุรกิจ การปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจต่างประเทศและของโลก ความน่าเชื่อถือและจรรยาบันในการทำธุรกิจ การตลาดและการรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม) และความสะดวกในการจัดหาแรงงานไทยและคุณภาพแรงงานไทยก็สูงกว่ามาก
(รูปที่ 4)
ประเทศไทย ประเทศจอร์แดน

รูปที่ 4 เรื่องประสิทธิภาพในการทำธุรกิจของประเทศ

แต่สำหรับในเรื่องโครงสร้างของประเทศนั้น ประเทศจอร์แดนกลับอยู่ลำดับที่ 40 ดีกว่าประเทศไทยซึ่งอยู่ในลำดับที่ 50 ประเทศไทยนั้นดีกว่าประเทศจอร์แดน ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและเรื่องคุณภาพสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เรื่องโครงสร้างเทคโนโลยีนั้นอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน แต่ประเทศไทยแพ้ประเทศจอร์แดนในเรื่องระบบการศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์นั้นประเทศไทยแพ้ประเทศจอร์แดนอยู่มากทีเดียว กล่าวคือ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 55 ขณะเดียวกับประเทศจอร์แดนอยู่ในระดับดีถึงลำดับที่ 27 ห่างกันมากทีเดียว (รูปที่ 5)
ประเทศไทย ประเทศจอร์แดน
รูปที่ 5 เรื่องโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

ดังจะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นโดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีศักยภาพในการแข่งขันสูงกว่าประเทศจอร์แดน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การที่ประเทศไทยให้ความสนใจในการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจ จึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยโดยตรง ซึ่งนอกจากจะเป็นการขยายฐานการค้าของสินค้าไทยในตลาดประเทศจอร์แดนแล้วยังนับเป็นการเปิดสู่ทางการขยายการค้าและเศรษฐกิจของประเทศไทย สู่ประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางอีกด้วย ประเทศจอร์แดน มีจุดอ่อนตรงเรื่อง ปัญหาอัตราคนว่างงานที่สูงโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน หนี้ต่างประเทศก็อยู่ในระดับสูง ขณะที่มูลค่าการส่งออกของประเทศอยู่ในระดับต่ำ ประชาชนยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยากจน ตลาดการเงินของประเทศก็ไม่จูงใจนักลงทุนต่างชาติ ประเทศจอร์แดนมี Country Credit Rating ต่ำแค่ 38 คะแนนจาก 100 คะแนน (ประเทศไทยได้ 57 คะแนนจาก 100 คะแนน)
ส่วนจุดแข็งของประเทศก็ดีตรงที่ ประเทศจอร์แดนเป็นประเทศมุสลิมสายกลาง ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศในโลกตะวันตก โดยเฉพาะประเทศอเมริกา นอกจากนี้รัฐบาลก็พยายามเร่งรัดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการขยายการร่วมมือทางการค้ากับประเทศต่างๆ และดำเนินการลงทุนในด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร พยายามพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัยด้วยการสร้างงานภายในประเทศ ประกอบกับค่าแรงงานในประเทศก็ยังมีระดับที่ถูกอยู่ สำหรับเรื่องทิศทางในการพัฒนาประเทศของประเทศจอร์แดนนั้นก็มีเรื่อง การลงทุนและพัฒนาในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง การเร่งพัฒนาการจัดหาแหล่งน้ำและการบริการน้ำสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพให้กับประชาชน ประเทศจอร์แดนยังมีปัญหาเรื่อง อัตราคนว่างงานที่สูงถึง 15% ดังนั้นรัฐบาลจอร์แดนจึงพยายามสร้างงานและจูงใจให้ประชาชนทำงานสร้างรายได้และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้สูงขึ้น รัฐบาลประเทศจอร์แดนสนใจแผนงานของรัฐบาลไทยในการสร้างงานและอาชีพให้กับประชาชนในโครงการ OTOP ขณะเดียวกันก็พยายามพัฒนาระบบการค้าให้มีการขยายตัว โดยการทำข้อตกลงความร่วมมือการค้าเสรี (FTA) กับประเทศอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศทั้งสองอย่างรวดเร็วในไม่ช้านี้

การวิเคราะห์การค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและประเทศจอร์แดน

ประเทศจอร์แดนมีการนำเข้าสินค้าสนปี 2003 เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น $US5,653 ล้านดอลล่าร์ คิดเป็นประเทศที่มีการนำเข้า ประเทศสูงเป็นลำดับที่ 81 ของโลก ในจำนวนนี้มีการนำเข้าสินค้าไทยเป็นมูลค่าเพียง US$ 76 ล้านดอลล่าร์ หรือคิดเป็น 1.36% ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด คิดเป็นประเทศในลำดับที่ 25 ที่มีการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดจอร์แดน ประเทศที่มีการนำเข้าสินค้าสู่ตลาดจอร์แดนที่สำคัญก็มี ประเทศซาอุดีอาระเบีย ด้วยมูลค่า US$ 648 ล้าน ลำดับสอง คือ ประเทศจีนด้วยมูลค่า US$ 455 ล้าน ตามด้วย เยอรมัน ด้วยมูลค่า US$437 ล้าน อิรักด้วยมูลค่า US$375 ล้าน อเมริกาอยู่ในลำดับที่ห้าด้วยมูลค่า US$361 ล้าน อิตาลีก็มีมูลค่า US$216 ล้าน ญี่ปุ่นอยู่ในลำดับที่เจ็ด ด้วยมูลค่า US$200 ล้าน ตามด้วยอังกฤษ ที่มูลค่า US$198 ล้าน และฝรั่งเศส ที่มูลค่า US$180 ล้านตามลำดับ สำหรับประเทศที่มีการขยายตัวทางการค้าและนำเข้าสินค้าสู่ตลาดจอร์แดนที่สูงน่าสนใจ ก็ประกอบด้วยประเทศ ซาอุดีอาระเบีย ทั้งมีการขยายตัวสูงถึง 348%, UAE 84%, ซีเรีย 58% และประเทศจีนก็มีการขยายตัวถึง 36% สำหรับสินค้าที่ประเทศจอร์แดนมีการนำเข้าจากต่างประเทศใน 10 ลำดับแรกประกอบด้วย

รายการ มูลค่าการนำเข้า อัตราการขยายตัว
(US $) ในตลาดจอร์แดน
1. น้ำมันดิบ $ 660 ล้าน 16%
2. น้ำมันปิโตรเลียม $ 213 ล้าน 47 %
3. ยารักษาโรค $ 125 ล้าน 25 %
4. สินค้ารายการทั่วไป Chapter 99 $ 119 ล้าน 24 %
5. รถยนต์ขนาด 1500 – 3000 CC $ 114 ล้าน - 4 %
6. อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม $ 80 ล้าน 74 %
7. ผ้าฝ้ายผืน ผ้าถัก $ 77 ล้าน - 37 %
8. ข้าวโพด $ 73 ล้าน 28 %
9. นมผง ที่มีมันเนยไม่เกิด 1.5 % $ 69 ล้าน 97 %
10. โลหะเหล็ก $ 68 ล้าน 27 %




สำหรับสินค้าไทยที่สำคัญในตลาดจอร์แดนก็ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้
รายการ สูงเป็นลำดับที่ มูลค่า (US$) สัดส่วนตลาด

นำตาลทรายขาว 2 12,667K 27%
รถบรรทุกดีเซลขนาดไม่เกิน 5 ตัน 2 12,937K 32%
ปลาซาดีน 3 501K 2%
ตู้เย็น 1 576K 24%
เครื่องรับทีวีสี 8 1,172K 11%
เครื่องปรับอากาศติดผนัง 2 1,152K 18%
ปลาทูนา 2 5,345K 49%

กระดาษเป็นม้วนและแผ่น 4 3,014K 12%

ในช่วงเวลาเดียวกัน (2003) ประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าจากประเทศจอร์แดนเป็นมูลค่าเพียง US$ 5 ล้าน ทำให้ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้ากับประเทศจอร์แดนถึง US$ 70 ล้าน สินค้าที่นำเข้าจากประเทศจอร์แดนส่วนใหญ่จะเป็นพวกปุ๋ยเคมี ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง US$ 4.6 ล้าน เกือบ 90 % ของมูลค่าสินค้านำเข้าจากประเทศจอร์แดนทั้งหมด
การวิเคราะห์บอสตันโมเดลของสินค้าไทยในตลาดจอร์แดน
ในการวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดจอร์แดน โดยการรวบรวมรายการสินค้าไทยต่างๆ ที่สำคัญที่ครอบคลุมถึงเกือบ 80 % ของสินค้าไทยในตลาดจอร์แดนด้วยบอสตันโมเดล จะสรุปผลการวิเคราะห์จัดกลุ่มสินค้าไทยต่างๆ พร้อมรายละเอียดของประเทศคู่แข่งที่สำคัญในตลาดจอร์แดนเป็นรายสินค้าได้ดังนี้ (รูปที่ 6)
รูปที่ 6 การวิเคราะห์บอสตันโมเดลของสินค้าไทยในตลาดจอร์แดน

รายการสินค้าในกลุ่ม Stars

รายการ มูลค่าส่งออก ประเทศคู่แข่งสินค้าไทยที่สำคัญ
(สัดส่วนตลาด)

น้ำตาลทรายขาว $12,667K (25%) ฝรั่งเศส (28%), ซาอุ (18%), UAE(7%)

ข้าว $5,483K (10%) ออสเตรเลีย (31%), อียิปต์ (28%), อเมริกา (21%)

เครื่องรับทีวีสี $1,172K (11%) มาเลย์ (35%), จีน (24%), เกาหลีใต้ (13%)

ปลาทูน่า $5,345K (49%) อินโดนีเชีย (51%)

ปลาซาดีน $501k (7%) โมรอกโค (80%), โปรตุเกส (12%)

ตู้เย็น $576k (24 %) เกาหลีใต้ (13%), ซีเรีย (12%)

เครื่องปรับอากาศ $1,152 K (18%) จีน (20%), บาห์เรน (11%), เกาหลีใต้ (10%)

ตัวถังรถบรรทุก $815K (6%) ญี่ปุ่น (43%), ซาอุ (16%), UAE (8%)

แผ่นไพเบอร์ $692K (5.8%) UAE (32%), ซาอุ (17%), ตุรกี (11%)

รายการสินค้าในกลุ่ม Cash Cows
รายการ มูลค่าส่งออก ประเทศคู่แข่งสินค้าไทยที่สำคัญ
(สัดส่วนตลาด)



รถบรรทุกดีเซล $12,937K (32%) ญี่ปุ่น (42%), เกาหลีใต้ (24%)

กระดาษเป็นม้วนและแผ่น $3,014K (12%) ฟินแลนด์ (19%), อินโด (16%), สวีเดน (14%)

รายการสินค้าในกลุ่ม Question Marks
รายการ มูลค่าส่งออก ประเทศคู่แข่งสินค้าไทยที่สำคัญ
(สัดส่วนตลาด)


ยางรถบรรทุก $609K (3.6%) ญี่ปุ่น (28%), จีน (20%), อียิปต์ (10%)

เม็ด PE $43K (0.2%) ซาอุ (57%), คูเวต (17%), โคต้า (17%)

เม็ด PVC $128K (1.3%) ซาอุ (66%), เยอรมัน (17%), เบลเยี่ยม (8%)

อุปกรณ์รับส่งคลื่นวิทยุ $45K (0.05%) ฮังการี (33%), ฟินแลนด์ (22%), เยอรมัน (22%)

ปั้นน้ำ $102K (0.9%) อิตาลี (24%), เยอรมัน (13%), อังกฤษ (10%)

เครื่องสำอาง $ 130K (3.6%) ฝรั่งเศส (19%), อังกฤษ (16%), เยอรมัน (11%)

รายการสินค้าในกลุ่ม Dogs
รายการ มูลค่าส่งออก ประเทศคู่แข่งสินค้าไทยที่สำคัญ
(สัดส่วนตลาด)

เฟอร์นิเจอร์ไม้ $124K (1.2%) อเมริกา (34%), จีน (13%), ตุรกี (11%)

ชิ้นส่วนรถบรรทุก $268K (0.6%) เยอรมัน (33%), สเปน (24%), เกาหลีใต้ (12%)

เครื่องมือทางการแพทย์ $69K (0.4%) อเมริกา (32%), เยอรมัน (27%), สเปน (6%)

ยางรถยนต์ $268K (2.7%) จีน (24%), ญี่ปุ่น (14%), อินโด (14%)










ในการวิเคราะห์โอกาสในการขยายตลาดของสินค้าไทยในประเทศจอร์แดนนั้นจะเป็นการศึกษารายการสินค้าทั้งหมดที่มีการนำเข้าในตลาดจอร์แดนเกือบหมื่นรายการ แล้วนำตัวเลขความต้องการสินค้า ในแต่ละรายการมาเทียบกับตัวเลขการส่งออกจากประเทศไทยของสินค้านั้นๆ ในตลาดโลก เราก็จะเข้าใจถึงความต้องการของสินค้าแต่ละชนิดที่ประเทศไทยสามารถนำเสนอเข้าสู่ตลาดจอร์แดนได้ แล้วจึงนำตัวเลขมูลค่าจริงที่มีการส่งออกของสินค้านั้นมาเปรียบเทียบกัน โอกาสในการขยายมูลค่าการส่งออกในตลาดจอร์แดนของสินค้าไทยแต่ละรายการ จะคำนวณได้จากสมการดังนี้
โอกาสขยายมูลค่าการส่งออก = Min {(ความต้องการสินค้านั้นในตลาดจอร์แดน – มูลค่าการส่งออกจากประเทศไทยในปัจจุบัน), (มูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยสู่ตลาดโลก – มูลค่าการส่งออกจากประเทศไทยในปัจจุบัน)}
Increasing Export Opportunity = Min {(Jordan’s imports from world – Thailand’s exports to Jordan), (Thailand’s exports to world – Thailand’s exports to Jordan)}

ตารางสรุปการวิเคราะห์ (ในรูปที่ 7) แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการขยายมูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจอร์แดนเป็นรายการสินค้าไทยแต่ละรายการ ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วก็เป็นโอกาสที่มีมูลค่ารวมมากกว่า US$ 5,577 ล้าน ซึ่งครอบคลุมถึงสินค้าไทยเกือบทุกรายการเลยทีเดียว ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการไทย ที่จะนำไปศึกษาเพื่อหาลู่ทางการขยายตลาดสินค้าไทยในประกาศจอร์แดนต่อไป










Product label
Thailand's exports to Jordan
Jordan's imports from world
Thailand's exports to world
Indicative potential trade in US$ thousand
Value 2003 in US$ thousand
Annual growth in value between 1999-2003, %
Share in Thailand's exports , %
Value 2003 in US$ thousand
Annual growth in value between 1999-2003, %
Quantity 2003
Quantity Unit
Value 2003 in US$ thousand
Annual growth in value between 1999-2003, %
Quantity 2003
Quantity Unit
Automobiles w reciprocatg piston engine
displacg > 1500 cc to 3000 cc
0
0
114,256
-2
9,843
Units
370,927
37,757
Units
114,256
Transmission apparatus,for radioteleph I
ncorporatg reception apparatus
45
0
79,665
79
595,621
Units
156,165
1,517,683
Units
79,620
Medicaments nes, in dosage
0
0
125,227
15
4,042,339
Kilos
63,632
14,810,067
Kilos
63,632
Aircraft parts nes
0
0
67,382
17
289
Tons
59,794
89
Tons
59,794
Parts suitable f use solely/princ
w the app of headings 85.25 to 85.28
140
0
56,830
37
5,512
Tons
779,633
25,548
Tons
56,690
Automobiles w reciprocatg piston engine
displacg > 1000 cc to 1500 cc
0
0
56,278
-7
9,899
Units
374,275
46,454
Units
56,278














รูปที่ 7 การวิเคราะห์โอกาสในการขยายมูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจอร์แดน

สำหรับกลยุทธ์เบื้องต้นในการส่งเสริมสินค้าไทยในตลาดประเทศจอร์แดนก็พอจะสรุปเป็นแนวทางได้ดังต่อไปนี้

กลุ่มสินค้า และAction Plans


§สินค้าในกลุ่ม Stars ส่งเสริมแนะนำสินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดจอร์แดนให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นและมองหาลู่ทางนำเข้าสินค้าไทยให้เพิ่มขึ้นให้สอดคล้องรองรับกับความต้องการของตลาด ที่กำลังมีการขยายตัวที่สูงขึ้น

§สินค้าในกลุ่ม Cash Cows ผู้ประกอบการธุรกิจไทยจะต้องมีความระวังติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดให้ดี เพราะถึงแม้ว่าสินค้าไทยจะมีสัดส่วนตลาดสูงแต่ความต้องการสินค้าในตลาดกำลังลดลงจะต้องมองหาลู่ทางสินค้าใหม่ๆ มาเสริมเพิ่มเติมในสายธุรกิจที่มีอยู่

§สินค้าในกลุ่ม Question Marks แก้ไขปัญหาพัฒนาสินค้าให้เข้ากับความต้องการของตลาดและอาจจะต้องพิจารณาถึงกฎและระเบียบการค้าระหว่างประเทศในการส่งออกของสินค้าเหล่านี้เข้าสู่ตลาดจอร์แดนรวมทั้งการหามาตราให้ความสะดวกการในการให้การบริการสนับสนุนจากภาครัฐกับผู้ประกอบการธุรกิจไทยในตลาดจอร์แดน

§สินค้าในกลุ่ม Dogs ให้ระวังติดตามการเปลี่ยนแปลงของความต้องการในตลาดผู้ประกอบการธุรกิจไทยจะต้องหาแนวทางในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ มารองรับสำรองสินค้าเดิมในกลุ่มนี้ด้วย

§สินค้าไทยใหม่ในตลาดจอร์แดน ศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจให้เกิดการซื้อขายเกิดขึ้นกับสินค้าเหล่านี้ให้ได้
§ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม พัฒนาบทบาทเชิงรุกของทูต CEO ในการขับเคลื่อนการค้าให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ควรพิจารณาให้มีการตกลงทางการค้า FTA ระหว่างไทยและจอร์แดน


การพัฒนาการค้าและเศรษฐกิจกับประเทศจอร์แดน จึงนับเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการขยายโอกาสของตลาดสินค้าไทยในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มีการนำเข้าสินค้าเป็นมูลค่ารวมถึง US$ 270 Billion dollars จึงนับเป็นโอกาสของประเทศไทยในการสร้างความสัมพันธ์และการร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจกับประเทศจอร์แดน เปิดทางให้กับนักธุรกิจและผู้ประกอบการไทยช่วยกันสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยของเรา ในการนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พตท ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางไปเยี่ยมประเทศจอร์แดนในวันที่ 25 เมษายน จึงนับเป็นการเปิดตลาดที่สำคัญขนาดใหญ่สำหรับผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทย อันนับเป็นการเปิดมิติใหม่ของการพัฒนาการค้านำสินค้าไทยสู่ตลาดโลกเชิงรุกสำหรับคนไทยเรา


























ปี พ.ศ.
2550



เรื่อง การสร้างสื่อประสม เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำวิจัย




ผู้วิจัย
น.ส.นุสรา ทีพุ่มน.ส.ภัทรวดี คำอุ้ยน.ส.วชิราภรณ์ ชายเดชน.ส.วันทนีย์ ผันผายน.ส.สุชาดา ฤดี
ที่ปรึกษา
นางวัจนีย์ หมื่นจักร์

ตัวอย่างการสร้างสื่อประสม
ความหมายของคำว่าสื่อประสม
จากนิยามของสื่อประสม ที่รวบรวมจากหลายแหล่ง พบว่ามีการให้นิยามที่คล้ายกันดังนี้ “สื่อประสมคือ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงและนำเสนอในรูปข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ โดยเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เพื่อการท่องไปในเนื้อเรื่อง การมีปฏิสัมพันธ์ การสร้าง และการสื่อสาร”
เทคโนโลยีสื่อประสม
เนื่องจากมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีของสื่อหลากหลายสื่อ ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้
เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง (Audio Technology) ซึ่งรวมทั้งเสียงพูด และเสียงดนตรี ตั้งแต่การประมวลผล การแสดงผล การจัดการต่างๆ เช่น การบีบอัดสัญญาณ การสื่อสาร การส่งสัญญาณ
เทคโนโลยีเกี่ยวกับวีดิโอ (Video Technology) อันได้แก่ การจัดเก็บ การประมวลผล การปรับแต่ง การใช้งาน การเรียกหา สืบค้น การส่งกระจาย มาตรฐานการบีบอัดสัญญาณ การเข้าและถอดรหัส การส่งข้อมูล การทำงานร่วมกับสื่ออื่นๆ
เทคโนโลยีรูปภาพ (Image Technology) เป็นการพัฒนา และประยุกต์ใช้ภาพ การจัดการฟอร์แมต คลังภาพ การค้นหา การสร้าง และตกแต่งภาพ
เทคโนโลยีข้อความ (Text Technology) เกี่ยวกับข้อความหรือ ตัวอักษร ทั้งการใช้ และลักษณะรูปแบบของ ข้อความแบบต่างๆ
เทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ (Animation & 3D Technology) เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการแสดงผล ด้นภาพเคลื่อนไหว ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ การสร้างภาพเสมือนจริง (VR - Visual Reality) การสร้าง ตกแต่ง ประมวลผล การใช้งาน
เทคโนโลยีการพัฒนา (Authoring System Technology) คือ เทคโนโลยีที่ได้พัฒนา เพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับ งานพัฒนามัลติมีเดีย ในรูปของ ซอฟต์แวร์ช่วย ในการนำข้อมูล เนื้อหา (Content) เข้าไปเก็บตามสื่อรูปแบบต่างๆ ที่วางไว้ เพื่อนำเสนอ เช่น การใช้เครื่องมือต่างๆ หรือการสร้างเครื่องมือใหม่ๆ
เทคโนโลยีกับระบบการศึกษา เป็นการศึกษาเพื่อนำเอา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับ ระบบการศึกษา ในรูปของ CAI - Computer Aided Instruction, CBT - Computer Based Training ตลอดจนงานประชาสัมพันธ์ โฆษณา สร้างภาพยนตร์
เทคโนโลยีการผลิต (Publishing Technology) เป็นการนำเอามัลติมีเดีย มาใช้ด้านงานพิมพ์ เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับงานพิมพ์ มีรูปแบบที่โดดเด่น และนำเสนอ หรือพิมพ์ลงสื่อได้หลากรูปแบบ เช่น งาน DTP - Desktop Publishing, CD-ROM Title & Publishing
เทคโนโลยีการกระจาย (Broadcasting & Conferencing) ส่งเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูล เผยแพร่สัญญาณ เช่น Conference, Multicasting Backbone เป็นต้น
เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล (Storage Technology) เนื่องด้วยข้อมูลด้านมัลติมีเดีย มักจะมีขนาดโต ทำให้ต้องเกี่ยวข้องกับสื่อบันทึกข้อมูลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อ รูปแบบการบีบอัดข้อมูล รูปแบบการบันทึกข้อมูล
เทคโนโลยี WWW & HyperText โดยจะช่วยให้เกิดการเผยแพร่สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบที่นิยมมากที่สุด และเร็วที่สุด ผ่านระบบ WWW และมีระบบโต้ตอบด้วยเทคโนโลยี HyperText & HyperMedia
เทคโนโลยีคลังข้อมูล (Media Archives) ซึ่งเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และการเรียกค้นภายหลัง เช่น Photo & Image Server, AVI archives
เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนประกอบที่สำคัญกับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ซึ่งจะช่วยให้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
องค์ประกอบของสื่อประสม
การนำเสนอแบบสื่อประสม หมายถึงการนำเอาความคิด เนื้อหาสาระที่ต้องการแสดงผล ออกแสดงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีองค์ประกอบเพื่อช่วยในการนำเสนอแบบสื่อประสม เพื่อให้สิ่งที่แสดงผลนั้นน่าดู และสามารถสื่อความเข้าใจต่างๆ ได้ง่าย
หากจะพิจารณาถึงเนื้อหาทั่วๆ ไป เช่นการนำเสนอเรื่อง อะเมซิ่งไทยแลนด์ (Amazing Thailand) ผู้นำเสนออาจเตรียมเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทย สถานที่ท่องเที่ยว ทิวทัศน์ที่สวยงาม วัฒนธรรมประเพณีของไทย อาหารการกิน ตลอดจนวิถีชีวิตบางอย่างเกี่ยวกับคนไทย ในการนำเสนอมีได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การนำเนื้อหาเหล่านั้นมาพิมพ์เป็นหนังสือเอกสารเผยแพร่ มาสร้างเป็นวีดิทัศน์ หรืออาจสร้างเป็นบทการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์แบบสื่อประสม การนำเสนอด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ก็เพื่อให้เป็นสื่อที่น่าสนใจ น่าติดตาม ผู้ชมมีความประทับใจ สามารถสื่อความในเรื่องเนื้อหาต่างๆ ได้ดี การนำเสนอแบบสื่อประสม จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้รูปแบบการนำเสนอ โดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยดำเนินการแสดงผลให้ โดยเน้นทั้งภาพ ทั้งเสียง หรือแม้แต่การโต้ตอบ รูปแบบที่ได้กล่าวถึงวิธีการสร้างสื่อประสมเพื่อนำเสนอ แสดงได้ดังรูป
รูปองค์ประกอบของเทคโนโลยีสื่อประสม
ในส่วนขององค์ประกอบดังกล่าว สามารถขยายตามองค์ประกอบของสื่อประสม ในส่วนของเนื้อหาที่จะสร้างให้อยู่ในรูปที่นำไปประมวลผลได้ คือส่วนที่ 4 และ 5 ดังนี้
ข้อความ (Text)
เป็นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องในเนื้อหาของสื่อประสมเสมอ และเป็นหนทางการนำเสนอได้ง่ายที่สุด และมีการพัฒนามาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ ลักษณะของข้อความที่ปรากฏในสื่อประสม ประกอบด้วย
1. ข้อความที่พิมพ์ เป็นข้อความเอกสารที่พิมพ์ออกมาในรูปกระดาษ เป็นผลงานของงานพิมพ์เอกสารทั่วไป เช่น งานเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ตัวอักษรแต่ละตัวเก็บในรูปแบบรหัส เช่น รหัส ASCII
2. ข้อความสแกน เป็นเอกสารที่ได้รับจากการสแกน และเป็นข้อความที่เก็บในรูปแบบรูปภาพ หรือ Image
3. ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการแทนข้อความให้อยู่ในรูปที่แทนในสื่อที่ใช้ประมวลผลได้
4. ข้อความหลายมิติ (Hypertext) มีบทบาทสำคัญมากในยุคหลังนี้ เพราะเป็นข้อความที่เก็บในรูปข้อความอิเล็กทรอนิกส์ และมีการเชื่อมโยงกัน สามารถนำมาประมวลผลและแสดงผลในลักษณะเชื่อมโยงกันได้ จึงเหมาะกับผู้ใช้
ภาพ (Graphics)
เป็นส่วนของสื่อประสมที่ใช้ประโยชน์ในการสื่อความหมายได้ดี มีสีสรร และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เพราะดึงดูดความสนใจได้ ภาพประกอบด้วย
1. บิตแมพ (Bitmaps) เป็นการเก็บรูปภาพเป็นพิกเซล แต่ละพิกเซลก็คือจุดเล็กๆ ที่แสดงเป็นสี การเก็บข้อมูลจะเก็บเป็นพิกเซล ดังนั้นรูปภาพแต่ละรูปจึงต้องเก็บข้อมูลจำนวนมาก ในการจัดเก็บจึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล เพื่อให้เล็กลง ผู้พัฒนาได้สร้างมาตรฐานการเก็บข้อมูลและบีบอัด เช่น .jpg .gif .tif .fax เป็นต้น
2. คลิปอาร์ต ในการสร้างสื่อประสมจำเป็นต้องมีรูปภาพประกอบ เพื่อความสวยงามและดึงดูความสนใจ เพื่อให้การสร้างสื่อประสมทำได้เร็ว จึงมีการเก็บรูปภาพเป็นห้องสมุดภาพ ที่เรียกมาใช้ได้ง่าย ภาพที่เก็บอาจเป็นภาพส่วนหลัง (Background) ภาพขอบ ภาพพื้น ที่ใช้ประกอบฉากหรือนำมาตกแต่ง ตลอดจนภาพที่ใช้เสริมรูปภาพต่างๆ
3. ภาพจากอุปกรณ์อินพุตต่างๆ เป็นภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลจากวีดิทัศน์ จากสแกนเนอร์ ฯลฯ
4. ไฮเปอร์พิกเจอร์ (Hyperpictures) เป็นภาพที่ปรากฏในสื่อประสมที่สามารถเชื่อมโยง หรือกระตุ้นให้เกิดการทำงานบางอย่าง เช่น เมื่อคลิกแล้วจะกลายเป็นวีดิทัศน์
เสียง (Sound)
เสียงเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบการนำเสนอแบบสื่อประสม เสียงทำให้บรรยากาศการรับรู้น่าสนใจ เช่น ในเกม ภาพยนตร์ ซีดี จะมีการบันทึกเสียงเป็นส่วนหลังเพื่อสร้างอารมณ์ต่างๆ ร่วมด้วย ลักษณะของเสียงประกอบด้วย
1. คลื่นเสียงแบบออดิโอ มีการบันทึกเป็น .WAV .AU การบันทึกจะบันทึกตามลูกคลื่นเสียง โดยมีการแปลงเป็นสัญญาณให้เป็นดิจิตอล เก็บในรูปแบบการบีบอัดเสียงเพื่อให้เล็กลง
2. เสียง CD เป็นรูปแบบบันทึกที่มีคุณภาพสำหรับการบันทึกลงบนแผ่น CDเพลงที่วางขายทั่วไป บันทึกตามมาตรฐานนี้
3. MIDI เป็นเสียงที่ใช้แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ สามารถเก็บข้อมูล และให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์สร้างเสียงตามตัวโน้ต เสมือนการเล่นของเครื่องดนตรีนั้นๆ
4. ไฮเปอร์ออดิโอ เป็นการนำสัญญาณเสียงไปกระตุ้นหรือผสมกับการทำงาน เพื่อการนำเสนอที่สลับซับซ้อนขึ้น
วีดิทัศน์ (Video)
วีดิทัศน์เป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวประกอบเสียง วีดิทัศน์เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ให้รายละเอียดการเคลื่อนไหวเหมือนจริง ส่วนของวีดิทัศน์ประกอบด้วย
1. ดิจิทัลวีดิทัศน์ เป็นการนำสัญญาณวีดิทัศน์ เก็บในรูปการบีบอัด เพื่อให้เก็บได้เล็กลง มีการสร้างมาตรฐาน เช่น MPEG, AVI, MOV
2. สัญญาณถ่ายทอดสด เป็นการนำเอาสัญญาณวีดิทัศน์ จากการถ่ายทอดรายการจริง เชื่อมโยงการกระจายส่งไปยังปลายทางที่ต้องการ ในส่วนของวีดิทัศน์มีอุปกรณ์การประมวลผลหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
พีซีเพื่อการนำเสนอแบบสื่อประสม
พีซีในปัจจุบันมีขีดความสามารถที่ใช้ในการนำเสนอแบบสื่อประสมได้ อย่างไรก็ตาม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทอรนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้นำเสนอข้อกำหนดพีซีสำหรับใช้งานทั่วไป ซึ่งรวมถึงการแสดงผลแบบสื่อประสมไว้ด้วย ข้อเสนอที่เสนอนี้จะปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สำหรับข้อเสนอของศูนย์ในปี พ.ศ. 2541 มีดังนี้
ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง ที่สนับสนุนการประมวลผลคำสั่งทางด้านสื่อประสม โดยมีความสามารถระดับอินเทลเพนเทียมที่ใช้เทคโนโลยี MMX ใช้สัญญาณนาฬิกา ความเร็ว 166 MHz มีหน่วยความจำหลักไม่น้อยกว่า 16 MB
สำหรับระบบเก็บข้อมูล มีฮาร์ดดิสก์สำหรับเก็บข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 2 GB มีซีดีรอมที่สามารถส่งผ่านข้อมูลที่ความเร็ว 20X โดยอัตรา 1X คือการส่งได้ 150 กิโลบิตต่อวินาที มีการ์ดแสดงผลกราฟิกส์ที่ความละเอียดไม่น้อยกว่า 640 x 480 จุด และแสดงสีได้ไม่น้อยกว่า 256 สี มีจอภาพพร้อมแป้นพิมพ์ และเมาส์
นอกจากนี้ต้องมีการ์ดแสดงผลเสียง ซึ่งแสดงผลเสียงได้ชัดเจน มีตัวรับเสียงเป็นไมโครโฟน และมีลำโพงเพื่อแสดงผลเสียง
การประยุกต์ใช้สื่อประสม
การประยุกต์ใช้สื่อประสมกว้างขวางมาก ตลาดของสื่อประสมจึงมีมาก เทคโนโลยีสื่อประสมสามารถประยุกต์ใช้งานในส่วนที่สำคัญหลายส่วน เช่น
1. การประยุกต์ในธุรกิจร้านค้าและอุตสาหกรรม ร้านค้าสามารถใช้สื่อประสมในการโฆษณา การสร้างคาตาล็อกแบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในเรื่องการติดต่อกับลูกค้า การฝึกอบรม การดำเนินธุรกิจในลักษณะการให้บริการแบบอัตโนมัติต่างๆ ตลอดจนประยุกต์ใช้กับกานำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่น่าสนใจ
2. การประยุกต์ทางด้านการศึกษา สามารถประยุกต์ได้กว้างขวาง ตั้งแต่การเรียนการสอน การสร้างสื่อ การใช้เป็นห้องสมุด การพิมพ์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3. การประยุกต์ในเรื่องนันทนาการ เทคโนโลยีสื่อประสมมีผลอย่างมากในการสร้าง ภาพยนตร์ การสร้างเกม การสร้าง ตลอดจนการนำเสนอในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์
4. การประยุกต์ในวงการรัฐบาล สามารถนำไปใช้ในการให้บริการ การดำเนินการทางด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ทางทหาร การกีฬา การสร้างงวิธีนำเสนอข้อมูลแบบต่างๆ
5. งานการแพทย์และสาธารณสุข งานการแพทย์ใช้ประโยชน์อย่างมากในเรื่องของการนำเสนอข้อมูล การเรียนการสอนทางด้านการแพทย์ การออนไลน์เพื่อให้การปรึกษาทางการแพทย์ ตลอดจนการดำเนินการที่เรียกว่า เทเลเมดิซีน
6. การสร้างแหล่งความรู้ เช่น สารานุกรม การสร้างห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในวงกว้างมากขึ้น
การประยุกต์ใช้สื่อประสมมีวงกว้างขวางมากขึ้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้อีกมาก
ประโยชน์ของสื่อประสม
มัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้
เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย
สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง
สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์